วิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา
วิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา
รหัสวิชาPR 9204
คำอธิบายรายวิชา
ความหมาย ของขอบข่ายและความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียน การสอน วิธีระบบ กระบวนการสื่อความหมาย การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน การเลือก การแนะนำให้รู้จักเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการการสอน การจัดหา การใช้ การผลิต การประเมินผลและการเก็บรักษา สื่อการเรียนการสอน ฝึกปฏิบัติสื่อหลักที่เหมาะสมกับสภาพของชั้นเรียนความหมายของการศึกษา
บุคคลผู้ได้รับการศึกษากับผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา แตกต่างกันอย่างไร
ผู้ที่เรียนในสถาบันการศึกษาระดับสูงเป็นผู้มีการศึกษาสูงหรือไร
ผู้ที่ไม่ได้เรียนหนังสือในสถาบันเป็นผู้ไม่มีการศึกษาหรือไร
การศึกษาที่แท้ คืออะไร
“ศึกษา” เป็นคำสันสกฤต ตรงกับคำ “สิกขา” ในภาษาบาลี มีความหมายว่าการพัฒนาอบรมตน กล่าว คือ บุคคลที่ต้องการให้คุณลักษณะทางกาย วาจา ใจ มีคุณภาพสูงกว่าที่เป็นอยู่ บุคคลที่ต้องการศึกษาก็ต้องเรียนรู้ฝึกฝนเพื่อพัฒนาตน เนื่องจากบุคคลอื่นมาพัฒนาแทนไม่ได้ ดังนั้นการให้การศึกษาที่ดีคือการทำให้บุคคลเกิดความปรารถนาในการพัฒนาตน
ในทางตะวันตก education มีรากศัพท์มาจากคำกริยาลาติน ๒ คำ คือ educare กับ educere
Educare (เอดูชาเร) หมายถึง การอบรมเลี้ยงดู เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาไม่มีศักยภาพในตนพ่อแม่ หรือครูจึงเป็นผู้กำหนด อบรมสั่งสอน ตรงกับการศึกษาที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ครูสั่ง ผู้เรียนทำ (จิตนิยม)
Educere (เอดูเชเร) หมายถึง การอบรมเลี้ยงดู เชื่อว่ามนุษย์เกิดมามีศักยภาพในตน จึงต้องพยายามให้บุคคลแสดงศักยภาพออกมา ตรงกับการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูชี้ทาง นักเรียนแสวงหา ประการนี้ดูเหมือนว่าสอดคล้องกับคำว่า “ศึกษา” (ปฏิบัตินิยม)
ถ้าการศึกษาคือการพัฒนาตน ตนจะพัฒนาอะไร
พัฒนากายให้มีคุณภาพสูงสุด ไทย คือ ศีล ตะวันตก คือ phychomotor domainพัฒนาจิตให้มีคุณภาพสูงสุด ไทย คือ สมาธิ ตะวันตก คือ affective domainพัฒนาความรู้ให้มีคุณภาพสูงสุด ไทย คือ ปัญญา ตะวันตก คือcognitive domain
ดังนั้น ถ้าจะถามว่าคนไทยมีการศึกษามีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน ก็ต้องหาตังบ่งชี้ด้วยการถามว่า
สุขภาพของคนไทยมีคุณภาพหรือไม่ ระดับใด วัดจากอะไร เช่น จิตใจแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง ไม่มีสารพิษซึมซาบอยู่ในกาย ความสามารถในการใช้อวัยวะกระทำและสื่อสารในการดำรงชีวิต
จริยธรรม สติ ความแน่วแน่ และต่อเนื่อง ของคนไทยมีมากน้อยเพียงใด อาจวัดได้จากความคิดที่มีจุดหมายในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม แน่วแน่ในการกระทำความดี และมีความต่อเนื่อง
วิธีคิดเพื่อแสวงหาคำตอบในการดำรงชีวิตของตนเองและผู้อื่นอย่างไร อาจวัดจาก การคิดอย่างมีจุดหมาย ลำดับขั้นตอนของการคิด คิดอย่างมีเหตุผล (และเข้าใจเหตุผลกำมะลอ) คิดให้เกิดประโยชน์
ดังนั้น คงตอบคำถามที่ว่า
บุคคลผู้ได้รับการศึกษากับผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา แตกต่างกันอย่างไร
ผู้ที่เรียนในสถาบันการศึกษาระดับสูงเป็นผู้มีการศึกษาสูงหรือไร
ผู้ที่ไม่ได้เรียนหนังสือในสถาบันเป็นผู้ไม่มีการศึกษาหรือไร
และ พิจารณาได้ว่า พ่อ แม่ ครู บา อาจารย์ เกษตรกร กรรมกร ผู้บริหาร พ่อค้า นักการเมือง ฯลฯ ที่มีการศึกษา มีลักษณะเช่นใด
ผู้ที่เรียนในสถาบันการศึกษาระดับสูงเป็นผู้มีการศึกษาสูงหรือไร
ผู้ที่ไม่ได้เรียนหนังสือในสถาบันเป็นผู้ไม่มีการศึกษาหรือไร
การศึกษาที่แท้ คืออะไร
“ศึกษา” เป็นคำสันสกฤต ตรงกับคำ “สิกขา” ในภาษาบาลี มีความหมายว่าการพัฒนาอบรมตน กล่าว คือ บุคคลที่ต้องการให้คุณลักษณะทางกาย วาจา ใจ มีคุณภาพสูงกว่าที่เป็นอยู่ บุคคลที่ต้องการศึกษาก็ต้องเรียนรู้ฝึกฝนเพื่อพัฒนาตน เนื่องจากบุคคลอื่นมาพัฒนาแทนไม่ได้ ดังนั้นการให้การศึกษาที่ดีคือการทำให้บุคคลเกิดความปรารถนาในการพัฒนาตน
ในทางตะวันตก education มีรากศัพท์มาจากคำกริยาลาติน ๒ คำ คือ educare กับ educere
Educare (เอดูชาเร) หมายถึง การอบรมเลี้ยงดู เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาไม่มีศักยภาพในตนพ่อแม่ หรือครูจึงเป็นผู้กำหนด อบรมสั่งสอน ตรงกับการศึกษาที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ครูสั่ง ผู้เรียนทำ (จิตนิยม)
Educere (เอดูเชเร) หมายถึง การอบรมเลี้ยงดู เชื่อว่ามนุษย์เกิดมามีศักยภาพในตน จึงต้องพยายามให้บุคคลแสดงศักยภาพออกมา ตรงกับการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูชี้ทาง นักเรียนแสวงหา ประการนี้ดูเหมือนว่าสอดคล้องกับคำว่า “ศึกษา” (ปฏิบัตินิยม)
ถ้าการศึกษาคือการพัฒนาตน ตนจะพัฒนาอะไร
พัฒนากายให้มีคุณภาพสูงสุด ไทย คือ ศีล ตะวันตก คือ phychomotor domainพัฒนาจิตให้มีคุณภาพสูงสุด ไทย คือ สมาธิ ตะวันตก คือ affective domainพัฒนาความรู้ให้มีคุณภาพสูงสุด ไทย คือ ปัญญา ตะวันตก คือcognitive domain
ดังนั้น ถ้าจะถามว่าคนไทยมีการศึกษามีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน ก็ต้องหาตังบ่งชี้ด้วยการถามว่า
สุขภาพของคนไทยมีคุณภาพหรือไม่ ระดับใด วัดจากอะไร เช่น จิตใจแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง ไม่มีสารพิษซึมซาบอยู่ในกาย ความสามารถในการใช้อวัยวะกระทำและสื่อสารในการดำรงชีวิต
จริยธรรม สติ ความแน่วแน่ และต่อเนื่อง ของคนไทยมีมากน้อยเพียงใด อาจวัดได้จากความคิดที่มีจุดหมายในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม แน่วแน่ในการกระทำความดี และมีความต่อเนื่อง
วิธีคิดเพื่อแสวงหาคำตอบในการดำรงชีวิตของตนเองและผู้อื่นอย่างไร อาจวัดจาก การคิดอย่างมีจุดหมาย ลำดับขั้นตอนของการคิด คิดอย่างมีเหตุผล (และเข้าใจเหตุผลกำมะลอ) คิดให้เกิดประโยชน์
ดังนั้น คงตอบคำถามที่ว่า
บุคคลผู้ได้รับการศึกษากับผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา แตกต่างกันอย่างไร
ผู้ที่เรียนในสถาบันการศึกษาระดับสูงเป็นผู้มีการศึกษาสูงหรือไร
ผู้ที่ไม่ได้เรียนหนังสือในสถาบันเป็นผู้ไม่มีการศึกษาหรือไร
และ พิจารณาได้ว่า พ่อ แม่ ครู บา อาจารย์ เกษตรกร กรรมกร ผู้บริหาร พ่อค้า นักการเมือง ฯลฯ ที่มีการศึกษา มีลักษณะเช่นใด
ทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน
ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษา ได้เปิดทำการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งแต่ละแห่งก็มีหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ปณิธานและวัตถุประสงค์ของแต่ละแห่ง แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือการผลิตบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่มีคุณภาพออกสู่สังคม ทั้งนี้บุคลกรที่มีคุณภาพจะเกิดขึ้นได้นั้น การหล่อหลอมจากสถานศึกษาและหลักสูตรการเรียนการสอนย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้น ในทัศนะของข้าพเจ้าสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และปณิธานของวิชาชีพนั้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยยังเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้หลักสูตรจะต้องยึดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามกระแสของยุคสมัย โดยยังคงรากฐานที่สำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ และควรให้ความสำคัญกับการคิด วิเคราะห์ในเชิงระบบ และการประยุกต์ใช้ เนื่องจากบัณฑิตเมื่อจบการศึกษาออกไปแล้วจะต้องมีบทบาทสำคัญในการบูรณาการเทคโนโลยีกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนักเทคโนโลยีการศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และทักษะในการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับตัวสื่อและเครื่องมือมากกว่าการพัฒนารูปแบบและระบบการสอน
2. ด้านผู้สอนและผู้เรียน การพัฒนาผู้สอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนผู้สอนในสาขาดังกล่าวค่อนข้างน้อย การสร้างผู้สอนรุ่นใหม่ยังขาดความต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนโดยตรง อีกทั้งต้องเร่งพัฒนาผู้สอนในทุกๆด้านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากในโลกยุคปัจจุบันสื่อหรือนวัตกรรมได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โลกทั้งใบถูกย่อลงมาเหลือเพียงแค่จอสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนส่วนใหญ่ต่างรับรู้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้สอนบางส่วนยังมีกรอบความคิดในรูปแบบเดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในอนาคตได้ อีกทั้งควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาและเผยแพร่งานวิชาการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ในด้านผู้เรียนสาขาเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องพัฒนาแนวความคิดในเชิงระบบให้มากขึ้น การพัฒนาบุคลิกภาพในการเป็นผู้นำ และความภูมิใจในวิชาชีพของตนเอง รวมทั้งการแสวงหาความรู้ใหม่ๆที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อที่จะสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนให้ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะระดับบัณทิตศึกษา ที่ต้องเน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัย ซึ่งการรับผู้เรียนที่จบจากสาขาวิชาที่หลากหลายทำให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความล่าช้าและไม่สอดรับกับประสบการณ์ของแต่ละคน ฉะนั้นการรับผู้เรียนในแต่ละภาคการศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนและจัดหลักสูตรที่หลากหลายให้สอดรับกับประสบการณ์และความถนัดให้มากที่สุด โดยเน้นกระบวนการวิเคราะห์และความคิดในเชิงระบบทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้มากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยที่หลากหลายโดยไม่เน้นไปที่การพัฒนาและสร้างสื่อเพียงอย่างเดียว การวิจัยด้านต่างๆ จะต้องได้รับการส่งเสริมให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นฐานและข้อมูลที่หลากหลายในการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษานั่นเอง
3. ด้านวิชาชีพ ปัจจุบันมีนักเทคโนโลยีการศึกษาที่ประกอบอาชีพตามองค์กรต่างๆอยู่เป็นจำนวนมากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การที่จะส่งเสริมให้วิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้ได้รับการยอมรับและยกระดับให้ทัดเทียมกับสาขาอื่นๆ ได้นั้น องค์กรทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องเข้มแข็งและมีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอยู่เสมอและต่อเนื่อง การสร้างเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อได้ในทุกระดับเพื่อพัฒนาและผลักดันวิชาชีพให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและพัฒนาการเรียนการสอนในระดับประเทศจะต้องเกิดขึ้น การส่งเสริมให้นักเทคโนโลยีการศึกษารุ่นใหม่ได้มีโอกาสแสดงความสามารถในระดับต่างๆ ยังมีน้อย สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างขององค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาและยกระดับวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีเกียรติในวงการศึกษา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาต่อไป
ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษา ได้เปิดทำการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งแต่ละแห่งก็มีหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ปณิธานและวัตถุประสงค์ของแต่ละแห่ง แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือการผลิตบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่มีคุณภาพออกสู่สังคม ทั้งนี้บุคลกรที่มีคุณภาพจะเกิดขึ้นได้นั้น การหล่อหลอมจากสถานศึกษาและหลักสูตรการเรียนการสอนย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้น ในทัศนะของข้าพเจ้าสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และปณิธานของวิชาชีพนั้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยยังเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้หลักสูตรจะต้องยึดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามกระแสของยุคสมัย โดยยังคงรากฐานที่สำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ และควรให้ความสำคัญกับการคิด วิเคราะห์ในเชิงระบบ และการประยุกต์ใช้ เนื่องจากบัณฑิตเมื่อจบการศึกษาออกไปแล้วจะต้องมีบทบาทสำคัญในการบูรณาการเทคโนโลยีกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนักเทคโนโลยีการศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และทักษะในการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับตัวสื่อและเครื่องมือมากกว่าการพัฒนารูปแบบและระบบการสอน
2. ด้านผู้สอนและผู้เรียน การพัฒนาผู้สอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนผู้สอนในสาขาดังกล่าวค่อนข้างน้อย การสร้างผู้สอนรุ่นใหม่ยังขาดความต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนโดยตรง อีกทั้งต้องเร่งพัฒนาผู้สอนในทุกๆด้านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากในโลกยุคปัจจุบันสื่อหรือนวัตกรรมได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โลกทั้งใบถูกย่อลงมาเหลือเพียงแค่จอสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนส่วนใหญ่ต่างรับรู้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้สอนบางส่วนยังมีกรอบความคิดในรูปแบบเดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในอนาคตได้ อีกทั้งควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาและเผยแพร่งานวิชาการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ในด้านผู้เรียนสาขาเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องพัฒนาแนวความคิดในเชิงระบบให้มากขึ้น การพัฒนาบุคลิกภาพในการเป็นผู้นำ และความภูมิใจในวิชาชีพของตนเอง รวมทั้งการแสวงหาความรู้ใหม่ๆที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อที่จะสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนให้ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะระดับบัณทิตศึกษา ที่ต้องเน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัย ซึ่งการรับผู้เรียนที่จบจากสาขาวิชาที่หลากหลายทำให้การเรียนการสอนเป็นไปด้วยความล่าช้าและไม่สอดรับกับประสบการณ์ของแต่ละคน ฉะนั้นการรับผู้เรียนในแต่ละภาคการศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนและจัดหลักสูตรที่หลากหลายให้สอดรับกับประสบการณ์และความถนัดให้มากที่สุด โดยเน้นกระบวนการวิเคราะห์และความคิดในเชิงระบบทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้มากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยที่หลากหลายโดยไม่เน้นไปที่การพัฒนาและสร้างสื่อเพียงอย่างเดียว การวิจัยด้านต่างๆ จะต้องได้รับการส่งเสริมให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นฐานและข้อมูลที่หลากหลายในการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษานั่นเอง
3. ด้านวิชาชีพ ปัจจุบันมีนักเทคโนโลยีการศึกษาที่ประกอบอาชีพตามองค์กรต่างๆอยู่เป็นจำนวนมากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การที่จะส่งเสริมให้วิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้ได้รับการยอมรับและยกระดับให้ทัดเทียมกับสาขาอื่นๆ ได้นั้น องค์กรทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องเข้มแข็งและมีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอยู่เสมอและต่อเนื่อง การสร้างเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อได้ในทุกระดับเพื่อพัฒนาและผลักดันวิชาชีพให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและพัฒนาการเรียนการสอนในระดับประเทศจะต้องเกิดขึ้น การส่งเสริมให้นักเทคโนโลยีการศึกษารุ่นใหม่ได้มีโอกาสแสดงความสามารถในระดับต่างๆ ยังมีน้อย สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างขององค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาและยกระดับวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีเกียรติในวงการศึกษา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาต่อไป
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
....เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ใน สำนักงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แสดงว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เพื่อการคำนวณและเก็บข้อมูลได้แพร่ไปทั่วทุกแห่ง เทคโนโลยีสาร สนเทศมี บทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท มีผลต่อการให้บริการขององค์การและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจในแต่ละวันก่อนการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมประชากรโลกส่วนใหญ่จะยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นแกนหลัก มีเพียงบางส่วนยึด อาชีพบริการและทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แต่เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม พลเมืองในชนบทเป็นจำนวนมากละทิ้ง ถิ่นฐานเดิมจากการทำไร่ไถนามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขยายตัวของประชากรในภาคอุตสาหกรรม และการลดน้อยลงในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ผู้ทำงานด้านบริการจะค่อย ๆ ขยับสูงขึ้นอย่างช้า ๆ พร้อม ๆ กับการมีผู้ทำงาน ด้านสารสนเทศ ที่ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นตลอดอย่างต่อเนื่อง
ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
.....เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการส่งข่าวสาร SMS หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพธ์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจับัน และมีแนวโน้วที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแตการผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (สุนทร แก้วลาย. 2531:166) พอสรุปได้ดังนี้
.....1.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน
.....2.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ
.....3.การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
.....4.ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก5.ช่วยในการจัระบบอัติโนมัติ เพื่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเรียกใชสารสนเทศ6.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น7.ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
....ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
.....พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสารมีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา
.....ในอดีตยุคที่มนุษย์ยังเร่ร่อน มีอาชีพเกษตรกรรม ล่าสัตว์ ต่อมามีการรวมตัวกันสร้างเมือง และสังคมเมืองทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิต การผลิตทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตจำนวนมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง ทำให้ข่าวสารแพร่กระจ่ายไปอย่างรวดเร็วสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดนเพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ออกไปยังประเทศต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
.....บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย1.เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวิดีโออนนดีมานด์(Video on Demand)วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้2.เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการการติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้3.เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้นซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารและการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ความหมายของนวัตกรรม
.....“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
.....“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย(พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
.....คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่าinnovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
....ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
.....มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
.....ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
.....นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
.....ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
.....ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
.....ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
.....จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
.....“นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์บรรณปัญญา.htm)
.....“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ความหมายของเทคโนโลยี
.....ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า“วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี” (boonpan edt01.htm)
.....เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
.....เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
.....สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)
.....ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)
.....Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)
.....นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
.....1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชาความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ “โสตทัศนศึกษา” นั่นเอง
.....2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
.....1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่าง ๆ เช่น
........1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
........1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
........1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
........1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
.....2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
.....3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
.....4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
.....ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
.....1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
.........- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
.........- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
.........- เครื่องสอน (Teaching Machine)
.........- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
.........- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
.........- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
....เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ใน สำนักงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แสดงว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เพื่อการคำนวณและเก็บข้อมูลได้แพร่ไปทั่วทุกแห่ง เทคโนโลยีสาร สนเทศมี บทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท มีผลต่อการให้บริการขององค์การและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจในแต่ละวันก่อนการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมประชากรโลกส่วนใหญ่จะยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นแกนหลัก มีเพียงบางส่วนยึด อาชีพบริการและทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แต่เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม พลเมืองในชนบทเป็นจำนวนมากละทิ้ง ถิ่นฐานเดิมจากการทำไร่ไถนามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขยายตัวของประชากรในภาคอุตสาหกรรม และการลดน้อยลงในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ผู้ทำงานด้านบริการจะค่อย ๆ ขยับสูงขึ้นอย่างช้า ๆ พร้อม ๆ กับการมีผู้ทำงาน ด้านสารสนเทศ ที่ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นตลอดอย่างต่อเนื่อง
ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
.....เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการส่งข่าวสาร SMS หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพธ์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจับัน และมีแนวโน้วที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแตการผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (สุนทร แก้วลาย. 2531:166) พอสรุปได้ดังนี้
.....1.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน
.....2.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ
.....3.การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
.....4.ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก5.ช่วยในการจัระบบอัติโนมัติ เพื่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเรียกใชสารสนเทศ6.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น7.ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
....ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
.....พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสารมีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา
.....ในอดีตยุคที่มนุษย์ยังเร่ร่อน มีอาชีพเกษตรกรรม ล่าสัตว์ ต่อมามีการรวมตัวกันสร้างเมือง และสังคมเมืองทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิต การผลิตทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตจำนวนมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง ทำให้ข่าวสารแพร่กระจ่ายไปอย่างรวดเร็วสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดนเพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ออกไปยังประเทศต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
.....บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย1.เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวิดีโออนนดีมานด์(Video on Demand)วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้2.เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการการติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้3.เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้นซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารและการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ความหมายของนวัตกรรม
.....“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
.....“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย(พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
.....คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่าinnovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
....ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
.....มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
.....ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
.....นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
.....ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
.....ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
.....ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
.....จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
.....“นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์บรรณปัญญา.htm)
.....“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ความหมายของเทคโนโลยี
.....ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า“วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี” (boonpan edt01.htm)
.....เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
.....เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
.....สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)
.....ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)
.....Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)
.....นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
.....1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชาความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ “โสตทัศนศึกษา” นั่นเอง
.....2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
.....1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่าง ๆ เช่น
........1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
........1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
........1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
........1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
.....2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
.....3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
.....4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
.....ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
.....1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
.........- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
.........- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
.........- เครื่องสอน (Teaching Machine)
.........- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
.........- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
.........- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น